ก๊าซชีวภาพ หรือ ไบโอแก๊ส (BIOGAS) เป็นก๊าซที่เกิดจากมูลสัตว์ หรือจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ภายใต้สภาวะไร้ออกซิเจน แก๊สที่เกิดขึ้นเป็นแก๊สที่ผสมกันระหว่างแก๊สมีเทน (CH4) กับก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ (CO2) ก๊าซไนโตรเจน (N2) ก๊าซไฮโดรเจน (H2) และก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) แต่ส่วนใหญ่แล้วประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นหลัก ซึ่งทีคุณสมบัติติดไฟได้ จึงใช้เป็นพลังงานให้ความร้อน แสงสว่าง และเดินเครื่องยนต์ได้ นอกจากนั้น กระบวนการ หมักแบบไร้ออกซิเจนยังจะลดปริมาณสารอินทรีย์ ที่มีอยู่ในสารหมักลงได้ 50 ‐ 70 % ซึ่งเป็นวิธีการบำบัดน้ำเสียและลดมลภาวะ
ไบโอแก๊ส ไบโอก๊าซ Biogas แก๊ส ชีวภาพกระบวนการผลิตแก๊สชีวภาพนั้นเป็นกระบวนการทางธรรมชาติ ที่อาศัยการทำงานของจุลินทรีย์จำพวกที่ไม่ชอบออกซิเจน ซึ่งจุลินทรีย์แบบไม่ชอบออกซิเจนนั้นมี 2 พวก คือ พวกที่สร้างมีเทน (Methanogenic bacteria)และ พวกที่ไม่สร้างมีเทน (Non-methanogenic bacteria) โดยจุลินทรีย์ประเภทสร้างมีเทนนี้จะใช้สารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนเป็นสารอาหาร และให้ผลผลิตเป็นแก๊สมีเทน (สูตรโมเลกุล CH4) และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ (สูตรโมเลกุล CO2) เป็นหลัก โดยมีแก๊สอื่นๆในปริมาณเล็กน้อยเช่น แก๊สไข่เน่า หรือแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (สูตรโมเลกุล H2S) จุลินทรีย์กลุ่มนี้ไม่ชอบออกซิเจนอิสระ (สูตรโมเลกุล O2เป็นโมเลกุลที่มนุษย์ใช้หายใจเพื่อการดำรงชีพ) ดังนั้นในการผลิตแก๊สชีวภาพนั้นจะต้องระวังไม่ให้ออกซิเจนสามารถเข้าไปสัมผัสกับจุลินทรีย์กลุ่มที่สร้างมีเทน เพราะจะทำให้การผลิตแก๊สมีเทนด้อยประสิทธิภาพ และเนื่องจากแบคทีเรียกลุ่มสร้างมีเทน สามารถใช้สารอาหารที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อนเท่านั้น การผลิตแก๊สมีเทนจากสารอินทรีย์ที่มีโครงสร้างซับซ้อน จึงต้องอาศัยการทำงานของแบคทีเรียกลุ่มไม่สร้างมีเทน เพื่อทำการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีความซับซ้อนสูง ให้กลายเป็นสารอินทรีย์ที่มีความซับซ้อนต่ำ พอที่แบกทีเรียกลุ่มสร้างมีเทนสามารถย่อยสลายได้ ในการผลิตแก๊สมีเทนจะต้องอาศัยการร่วมมือของแบคทีเรียหลายๆกลุ่มเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปน้ำเสียและขยะที่มีสารอินทรีย์นั้นสามารถนำมาผลิตแก๊สชีวภาพได้
ไบโอแก๊ส ไบโอก๊าซ Biogas แก๊ส ชีวภาพที่มาของภาพ :http://reca.or.th/biogas/
แก๊สชีวภาพเกิดจากการหมักย่อยของเสียโดยจุลินทรีย์ในสภาวะไร้อากาศ ของเสียเหล่านั้นได้แก่ ของเสียจาก สุกร โค ไก่ หรือ ของเสียจากภาคอุตสาหกรรมเกษตร และขยะ เช่น โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง โรงงานน้ำมันปาล์ม และโรงงานเอทานอล เป็นต้น ซึ่งในประเทศไทยนับว่ามีของเสียเหล่านี้อยู่มาก ปัจจุบันพบว่ามีการปล่อยทิ้งของเสียดังกล่าวบางส่วนลงสู่แม่น้ำ ลำคลองสาธารณะ ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม ก่อนหน้านี้ได้มีการบำบัดโดยใช้วิธีการเติมอากาศ ซึ่งก็ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าทำให้ต้องสิ้นเปลืองพลังงานในการบำบัด ดังนั้นระบบการผลิตแก๊สชีวภาพ จึงมีประโยชน์ในการช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยน้ำเสียลงสู่แม่น้ำ สาธารณะ ลดกลิ่นเหม็น ได้ปุ๋ยชีวภาพไปใช้ในการเกษตร ได้พลังงานทดแทน และยังช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกด้วย
ไบโอแก๊ส ไบโอก๊าซ Biogas แก๊ส ชีวภาพ
ที่มาข้อมูล : https://www.scimath.org/lesson-chemistry/item/7101-biogas
รับปรึกษา ออกแบบระบบไบโอแก๊ส จำหน่ายติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไบโอแก๊ส พร้อมทั้งระบบไฟฟ้า และตู้คอนโทรล
โทร : 097 951 9495 , 097 945 4294 |
Email : news2552@windowslive.com | plypower2018@gmail.com
Social Media :
ปลายเพาเวอร์เซอร์วิส | Line ID : 0979519495